ข้อมูลพืช


โมกราชินี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia sirikitiae  Mid.& Santisuk

ชื่อวงศ์ : APOYNACEAE

ลักษณะวิสัย :  ไม้พุ่ม

          โมกราชินี พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกค้นพบโดยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้ ในระหว่างโครงการสำรวจพรรณพฤกษชาติภูเขาหินปูน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จาก การศึกษาค้นคว้าเอกสารและตรวจสอบตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิง  ในหอพรรณไม้ต่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องหลายประเทศ ยังไม่เคยปรากฏชื่อหรือรายงานลักษณะรูปพรรณของพรรณไม้ชนิดนี้มาก่อน และ Dr. D.J. Middleton ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้วงศ์ APOCYNACEAE ของโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันและสนับสนุนการยก รูปพรรณไม้สกุลโมกมัน(Wrightia)นี้ เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกการค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่นี้มีความสำคัญยิ่งต่อวงการพฤกษศาสตร์ เนื่องจากในปัจจุบันโอกาสค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในวง APOCYNACEAE มีน้อยมาก โดยเฉพาะประเภทไม้ต้น พรรณไม้ใหม่นี้เป็นชนิดที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะดอกที่สวยงาม จัดเป็นพรรณไม้  ถิ่นเดียว (Endemic species) พบเฉพาะในประเทศไทย 

         มีสถานภาพเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ชนิดหนึ่งของโลก (Rare and endangered species) สมควรที่จะอนุรักษ์และนำมาปลูกขยายพันธุ์ต่อไป กรมป่าไม้จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตให้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ของสกุล Wrightia ตามพระนามของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ว่า “Wrightia sirikitiae Middleton & Santisuk” เพื่อ เผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จากการที่ได้ทรงสนับสนุนและทรงริเริ่มโครงการต่างๆด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องและเพื่อเป็นสิริ มงคลในวงการ พฤกษศาสตร์ของประเทศไทย

ปัจจุบันได้กำหนดสถานภาพที่ว่าใกล้สูญพันธุ์ของโลกใหม่แล้ว เนื่องจากการค้นพบโมกราชี  เป็นจำนวนมากที่ วนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เราสามารถพบโมกราชินีได้แถบจังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรีและกาญจนบุรี ในระบบนิเวศที่มีภูมิประเทศแบบหินปูน


ลักษณะพิเศษของพืช   

ดอกสีขาว รูปร่างคล้ายดอกโมกป่า ออกดอกราวเดือนมีนาคม เป็นต้นไป เมื่อดอกโรยและได้รับการผสมเกสร ก็จะติดฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนฝักสีน้ำตาล แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 50- 150 เมล็ด 

ประโยชน์   ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้มงคล