ธรณีวิทยา


ธรณีวิทยา

วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง ครอบคลุมพื้นที่เขาชอนเดื่อและเขาขวาง ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่มีระดับความสูงประมาณ 100 – 370 เมตร ลักษณะทางธรณีวิทยาอยู่ในขอบเขตของหินปูน (limestone) แสดงชั้นถึงเป็นมวลหนา สีเทาดำ มีซากบรรพชีวินพวกฟิวซูลินิดหรือคตข้าวสาร (fusulinids)  หอยฝาเดียว หอยสองฝา และปะการัง ซึ่งแสดงถึงการสะสมตัวของหินปูนในทะเลน้ำตื้นบางส่วนถูกแทรก  สลับด้วยหินดินดาน (shale) หินเชิร์ต (chert) และหินกรวดมน (conglomerate) หินบริเวณนี้มีอายุ  ทางธรณีวิทยาอยู่ในยุคเพอร์เมียนหรือประมาณ 250 ล้านปี มาแล้ว

ลักษณะโดดเด่นทางธรณีวิทยา

ถ้ำเพชร-ถ้ำทอง เป็นภูเขาหินปูน มีความโดดเด่นของลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst) ซึ่งเกิดจากการผุผังของหินปูนเนื่องจากการชะล้างของน้ำฝนและทางน้ำ จนเกิดเป็นถ้ำต่าง ๆ ถ้ำที่พบจะมีลักษณะธรรมชาติมาก มีการสะสมตัวของตะกอนถ้ำ หรือแร่แคลไซต์ให้ลักษณะหินงอก หินย้อย ม่านน้ำตก ธารน้ำไหล เหมาะสมเป็นแหล่งเรียนรู้ทางทางธรณีวิทยา ถ้ำที่มีลักษณะที่โดดเด่น ได้แก่ ถ้ำวังไข่มุก  ถ้ำประดับเพชร ถ้ำมรกตและถ้ำเพชรน้ำผึ้ง อีกทั้ง มีทิวทัศน์สวยงามสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์นานาชนิด 


แบบจำลองการเกิดถ้ำ


ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

มาตราธรณีกาล (Geologic Time Scale)

การลำดับอายุทางธรณีวิทยา โดยเริ่มตั้งแต่โลกกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว ระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโลกและสิ่งมีชีวิต เพื่อความสะดวกนักวิทยาศาสตร์   จึงได้แบ่งธรณีกาลออกเป็น บรมยุค (eon) มหายุค (era) ยุค (period) สมัย (epoch) ช่วงเวลา (age) และ รุ่น (chrone) ตามลำดับ

อายุทางธรณี และวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต

  


ท้องทะเลยุคเพอร์เมียน  PERMIAN SEAFLOOR