ซากดึกดำบรรพ์
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ ยุคเพอร์เมียน PERMIAN ที่สำคัญในประเทศไทย
ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด (Fusulinids)

ฟิวซูลินิด หรือ คดข้าวสาร เป็นสิ่งมีชีวิตเซลเดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ อยู่ในอาณาจักร โพรท็อกทิสทา (Kingdom Protoctista) ไฟลัมโพรโตซัว (Phylum Protozoa) สามารถสร้างเปลือกแข็ง ที่เป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนตห่อหุ้มตัว เจริญเติบโตโดยการขดรอบแกนสมมติแกนหนึ่ง รูปร่างภายนอก คล้ายกระสวย (fusiform) หรือคล้ายเมล็ดข้าวสาร มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ถึง 100 มิลลิเมตร
การดำรงชีวิต ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำทะเลใส ตื้น โดยคลานอยู่ตามท้องทะเล หรือล่องลอย ไปตามน้ำ มีอยู่ในโลกตั้งแต่กลางยุคคาร์บอ-นิเฟอรัส และสูญพันธุ์ลงเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน
ซากดึกดำบรรพ์ปะการัง (Corals)
ปะการัง
เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) จัดเป็นปะการังแท้ (true corals) ประกอบด้วยปะการังอันดับต่าง ๆ ดังนี้
- Order Rugosa Middle Ordovician to Permian
- Order Tabulata Ordovician to Permian
- Order Scleractinia Middle Triassic
to Holocene
1.1 ปะการังรูโกส (Rugose coral)
ปะการังรูโกส หรือปะการังรูปเขาสัตว์ มีโครงแข็ง (skeleton) ที่สร้างขึ้นจากสารแคลเซียมคาร์บอเนต โดยลักษณะของผิวนอกมักมีรอยย่นเสมอ และมีรูปร่างทั่ว ๆ ไป คล้ายเขาสัตว์ การดำรงชีวิต ชอบอยู่ในทะเลอบอุ่น น้ำตื้น มีทั้งอยู่โดดเดี่ยว (solitary) และ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony)
1.2 ปะการังแท็บบูเลต (Tabulate corals)
ปะการังแท็บบูเลต หรือปะการังรูปแท่ง มีลักษณะของโครงแข็ง (skeleton) ที่คล้ายท่อผอม ๆ และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) เท่านั้น การดำรงชีวิต ชอบอยู่ในทะเลน้ำตื้น ซึ่งมีน้ำวนเล็กน้อย
a. solitary rugose corals b. compound rugose corals
ซากดึกดำบรรพ์แบรคคิโอพอด (Brachiopod)

แบรคคิโอพอด หรือหอยตะเกียง (Lamp Shell) เป็นสัตว์ไฟลัมแบรคคิโอโพดา(Phylum Brachiopoda) ประกอบด้วยฝา 2 ฝา ที่มีขนาดไม่เท่ากัน ปกติฝาเพดิเคิล(ฝาด้านล่าง) จะใหญ่กว่า และภายในมีกล้ามเนื้อเท้าขนาดใหญ่ (pedicle muscle) ยื่นออกมาเพื่อยึดติดกับพื้นทะเล ใช้สำหรับขุดและเคลื่อนไหวในเขตน้ำตื้น ซึ่งลักษณะเฉพาะของฝาหอยแบรคคิโอพอดคือ แต่ละฝา มีสมมาตรสองข้าง (bilateral symmetry) ซึ่งถ้าลากเส้นแบ่งครึ่งของแต่ละฝา จะพบว่าแต่ละส่วน จะเหมือนกันทุกอย่าง เปลือกหอยมีขนาดและรูปร่างต่างกัน อาจเป็นวงกลม วงรี เป็นมุม ผิวนอกของฝา อาจเรียบ มีเส้นแสดงการเจริญเติบโต (growth lines) มีหนาม (spines) สัน (ridges) หรือรอยหยัก (costation) การดำรงชีวิต พบมากตามพื้นทะเล เขตน้ำตื้น ในมหายุคพาลีโอโซอิก เริ่มมีในโลก ตั้งแต่ต้นยุคแคมเบรียน และบางชนิดมีอยู่จนถึงปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์มอลลัสก์ (Mollusc)

มอลลัสก์ เป็นสัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum
Mollusca) ที่มีเปลือกแข็งหรือแกนแข็งเป็น สารแคลเซียมคาร์บอเนต แบ่งแยกชนิดกันโดยดูความแตกต่างของลักษณะเปลือก
แต่จะมีโครงสร้างภายใน ที่คล้ายคลึงกัน
ตัวอย่างเช่น หอยสองฝาต่าง ๆ (bivalves) ที่ไม่ใช่แบรคคิโอพอด
หอยฝาเดียว ลิ่นทะเล หมึก แอมโมไนต์ เบเล็มไนต์ เป็นต้น
แอมโมไนต์ (Ammonite) เป็นหอยชนิดหนึ่งในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) อยู่ในชั้นเดียวกับหมึก ชั้นเซฟาโลโพดา (Class Cephalopoda) เปลือกแบ่งเป็นห้อง ๆ คล้ายกับเปลือกของ หอยนอติลุสในปัจจุบัน แต่หอยแอมโมไนต์จะมีผนังกั้นห้อง ซึ่งมักมีท่ออากาศอยู่ตรงกลางเปลือก โดยเปลือกจะมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ขดม้วนเป็นวงกลม ยืดออกไปตรง ๆ หรือบิดไปบิดมา โค้งจนถึงหยักมาก ท่อไซฟันเคิล หรือท่ออากาศช่วยในการลอยตัวอยู่ใกล้โค้งนอกมากกว่าพวกนอติลุส
การดำรงชีวิต จะเคลื่อนที่แบบเดียวกับหมึก แอมโมไนต์เริ่มมีในโลกตั้งแต่ยุคดีโวเนียน และ สูญพันธุ์ลงเมื่อปลายยุคครีเทเชียส
หอยแกสโตรพอด (Gastropod) เป็นหอยชนิดหนึ่งในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ชั้นแกสโตรโพดา (Class
Gastropoda) เป็นหอยฝาเดียวที่มีลักษณะของฝาขดเป็นเกลียว โดยทั่วไป หอยแกสโตรพอดที่พบในปัจจุบันจะขดเป็นเกลียวแบบหอยเจดีย์
ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น Helecoid, Planispiral, Discoidal
การดำรงชีวิต เป็นพวกที่ปรับตัวได้ดีมาก สามารถอาศัยอยู่ได้แทบทุกสภาพแวดล้อมมีช่วงอายุระหว่างยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน
หอยพีลีไซพอด (Pelecypod) เป็นหอยชนิดหนึ่งในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) เป็นหอยสองฝาที่มีลักษณะคล้ายกับหอยแครงในปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์ฟองน้ำ (Sponge)

ฟองน้ำ เป็นสัตว์หลายเซลล์ในไฟลัมพอริ-เฟอรา
(Phylum
Porrifera) มีโครงสร้างภายในที่ซับซ้อน รูปร่างมีหลายแบบและหลายขนาด
แต่ทุกตัวจะต้องมีรูเล็ก ๆ ที่เป็นช่องทางหมุนเวียนน้ำ ดักอาหารและย่อยอาหาร
เนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มถูกค้ำยันโดยโครงสร้างภายในที่เป็นเส้นใยแข็ง และ/หรือหนาม
ซึ่งเป็น
สารแคลเซียมคาร์บอเนตหรือซิลิกา
เรียกส่วนแข็งนี้ว่า “
สปิคูล ” (spicule)
การดำรงชีวิต
อาศัยอยู่ในทะเลโดยเกาะติดอยู่กับสิ่งอื่น ๆ
มีในโลกตั้งแต่มหายุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์ก้านไครนอยด์ (Crinoid Stem)

ไครนอยด์
หรือพลับพลึงทะเล เป็นสัตว์กลุ่มอีไคโนเดิร์ม (Phylum Echinodermata) พวกเดียวกับดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล บลาสตอยด์ ซีสตอยด์
โดยมีรูปร่างแบบสมมาตรเป็นรัศมี เมื่อมองที่ส่วนบนจะมองเห็นเป็น 5 แฉก
หรือจำนวนเท่าของ 5 มีผิวขรุขระหรือเป็นหนามยื่นออกมา พลับพลึงทะเล หรือไครนอยด์
มักพบเฉพาะส่วนที่เป็นก้าน (crinoid stem) ส่วนที่เป็นตัวหรือมงกุฎ
(crown) มักจะไม่คงรูปเป็นซากดึกดำบรรพ์ (fossil)
ซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัว (Bryozoa)

ไบรโอซัว
หรือเสื่อทะเล อยู่ในไฟลัมไบรโอซัว (Phylum Bryozoa) เป็นสัตว์ทะเลที่มีขนาดเล็กมาก
แต่ละตัวมีปาก มีทวาร
และช่องทางเดินของอาหารที่สมบูรณ์ และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยแต่ละตัว จะเชื่อมต่อกับตัวอื่นทางรู
ซึ่งการจัดตัวของกลุ่มมีหลายแบบ เช่น มีรูปร่างคล้ายต้นมอส เปราะบางเป็นรูปแห หรือเสื่อ
หรือรวมกันเป็นกลุ่มแข็งแกร่งเหมือนหิน
การดำรงชีวิต
ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ในน้ำทะเล มีส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ชอบน้ำใส บริเวณที่พบมากคือ
ทะเลน้ำตื้น บริเวณเขตอบอุ่นและเขตร้อน และซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ
ซากดึกดำบรรพ์สาหร่ายทะเล (Algae)

สาหร่ายทะเล
ซากดึกดำบรรพ์ปะการังไซโนพอรา (Sinophora Corals)

ปะการังไซโนพอรา