พื้นที่ดำเนินโครงการ
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์

โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 110 หมู่ 1 ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 โทรศัพท์ 056-262-369 โทรสาร 056-261-158 มีเนื้อที่ 53 ไร่ 2 งาน 58 ตารางวา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยแต่แรกอาศัยศาลาวัดสว่างวงษ์เป็นอาคารเรียน ต่อมาย้ายมาก่อตั้ง ณ ที่ทำการปัจจุบัน โดยเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.1- ม.ศ. 3) ปัจจุบันเปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 72 ห้องเรียน นับเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ อยู่ในเขตชุมชน ซึ่งประชาชนในเขตตำบลตาคลี อำเภอตาคลี และจังหวัดใกล้เคียง ให้การยอมรับมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ส่งบุตรหลานเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทุกๆ ปี จนทำให้โรงเรียนได้ถูกจัดให้อยู่กลุ่มโรงเรียนยอดนิยมหนึ่งใน 362 โรงเรียนของประเทศ เป็นอันดับสองของจังหวัด และเป็นอันดับหนึ่งของเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ปัจจุบัน มีอาคารเรียนถาวร 5 หลัง อาคารหอประชุม 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง โรงฝึกงาน 3 หลัง บ้านพักครู 6 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง เรือนแถวที่พักภารโรง 1 หลัง อาคารเก็บพัสดุ 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วม 8 หลัง อาคารหอสมุด และศาลาเรือนไทย
วนอุทยานถ้ำเพชร - ถ้ำทอง

วนอุทยาน (Forest Park) หมายถึง พื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติสวยงามเหมาะแก่การสงวนรักษาไว้ ให้เป็นแหล่งคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติหรือนันทนาการของประชาชนโดยส่วนรวม
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 และได้กำหนดพื้นที่วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ไว้ในหมวด 2 ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้
สำหรับ วนอุทยานถ้ำเพชร - ถ้ำทอง จังหวัดนครสวรรค์ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2540 มีพื้นที่รับผิดชอบรวม 4,659 ไร่ และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีประกาศกำหนดบริเวณพื้นที่ในท้องที่ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี ตำบลหนองพิกุล และตำบลเขาชายธง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นวนอุทยาน พ.ศ. 2563 มีพื้นที่รับผิดชอบรวมทั้งสิ้น 4,703 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่าไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
ที่ตั้งและอาณาเขต วนอุทยานถ้ำเพชร - ถ้ำทอง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4,703 ไร่ ที่ทำการวนอุทยานตั้งอยู่ที่บ้านชอนเดื่อ หมู่ที่ 15 ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่าง จากจังหวัดนครสวรรค์ไปทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร มีค่าพิกัดภูมิศาสตร์พิกัด X = 650030 E พิกัด Y = 1692223 N โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จด บ้านสระแก้ว ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ จด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (อำเภอตาคลี - อำเภอตากฟ้า)
ทิศตะวันออก จด บ้านหนองพิกุล ตำบลหนองพิกุล อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันตก จด บ้านชอนเดื่อ ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
อบต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

บ้านหนองโพ เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และมีหมู่บ้านใกล้เคียง กันอีกหลายหมู่บ้าน เดี๋ยวนี้เป็นบ้านร้างแต่ยัง มีซากโบราณสถานเป็นต้นว่า บ่อน้ำ เขื่อน คูและซากอิฐปรากฎ อยู่เช่น ทางทิศใต้บ้านหนองโพมีบ้านสระพังแลง และทิศตะวันออกมีบ้านม่วงน้อยตั้งอยู่ไม่สู้ห่างไกลนัก และ ยังมีซากบ้านเก่าที่ เรียกกันว่า บ้านเก่าบุคา อีกหมู่บ้านหนึ่งตั้งอยู่ใน ดงพระยาเย็น ห่างจากหมู่บ้านหนองโพ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ระยะทางเดินราว 17 กิโลเมตร เข้าใจว่าในครั้งโบราณ ชาวบ้านในหมู่บ้าน เหล่านี้และหมู่บ้านที่ห่างไกลอื่น ๆ คงจะมีความสัมพันธ์ โดยเป็นเครือญาติกันแต่ดั้งเดิมบ้างโดยเกี่ยวดองกัน ในทาง แต่งงานกัน และคงจะได้ไปมาหาสู่ติดต่อกันอยู่ในเมืองเกี่ยวด้วยอาชีพและกิจทุกข์สุขของกันและกัน แม้บางหมู่บ้านจะ อยู่ห่างไกลกันก็ย่อมจะรู้จักมักคุ้นกัน เพราะในสมัยที่ยานพาหนะเช่นทางรถไฟยังไม่มีนั้น การเดินทางจากหมู่บ้านที่มีระยะทาง ห่างกันเพียงชั่ววันครึ่งวัน ย่อมเห็นกันเป็นของธรรมดาไม่รู้สึกเห็นเป็น ห่างไกลอะไรเลย ครั้นเมื่อไทยกับพม่าทำสงครามกัน คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง ท้องที่ทางภาคตะวัน ตกและภาคกลางของประเทศไทยได้กลายเป็นยุทธภูมิบ้าง เป็นที่พักพลและ เป็นทางกองทัพเดินผ่านบ้าง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในท้องที่เหล่านี้จึงตกอยู่ในแดนอันตรายที่อาจถูกข้าศึกประทุษร้ายได้ง่าย ชาวบ้าน ในท้องที่ ดังกล่าวนี้ต่างก็พากันรวบรวมทรัพย์สมบัติพาครอบครัวอพยพหนียุทธภัย ทิ้งบ้านเรือนหนึไปหลบซ่อน เอาตัวรอดบ้าง ถูกข้าศึกกวาดต้อนไปกับกองทัพบ้างด้วยเหตุนี้ ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงปรากฎ บ้านร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านม่วงน้อย บ้านสระพังแลง และบ้านหนองโพ ที่กล่าวแล้ว ส่วนบ้านบุคาโดยเหตุที่ตั้งอยู่ในดงพระยาเย็นห่างไกล จากบริเวณที่ข้าศึกจะไปมาถึง จึงคงตั้งอยู่ ได้ต่อมา ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียนประทุษร้าย แต่มาถูกภัยธรรมชาติรบกวน จึงกลายเป็น บ้านร้างในภายหลัง