ข้อมูลสัตว์
ผีเสื้อถุงทองธรรมดา

ชื่อไทย ผีเสื้อถุงทองธรรมดา
ชื่อสามัญ The Golden Birdwing
ชื่อวิทยาศาสตร์
Troides aeacus (C.
& R. Felder)
ลักษณะ : ผีเสื้อที่เรียกว่า“Birdwing”เป็นผีเสื้อที่มีปีกขนาดใหญ่เหมือนนก
ซึ่งมีทั้งหมด 3 สกุลด้วยกันคือ
Ornithoptera, Trogonoptera และ Troides ผีเสื้อสกุล Troides เป็นผีเสื้อเพียงสกุลเดียวที่มีถิ่นกำเนิด
ในประเทศไทยเรียก “ผีเสื้อถุงทอง”
ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด
คือ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง
ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้
และผีเสื้อถุงทองธรรมดาโดยผีเสื้อถุงทองธรรมดาเป็นผีเสื้อที่มีความชุกชุมและพบเห็นได้ง่ายกว่าผีเสื้อถุงทองชนิดอื่นมีลักษณะเด่นที่ปีกคู่หน้ายาวสีดำ
มีเกล็ดสีเทา รอบเส้นปีกและในเซลปีกหน้าเห็นได้อย่างชัดเจนในทั้งสองเพศ
แต่ผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียมีความแตกต่างกันสังเกตได้จากลวดลาย
ที่ปีกคู่หลังของเพศผู้เป็นสีเหลืองทอง
(เป็นที่มาของชื่อถุงทอง)ที่ขอบปีกมีรอยหยักสีดำ ที่เหนือรอยหยักสามอันที่มุมด้านในของปีกจะมีเกล็ดสีเทาลักษณะเหมือนฝุ่นสีเทาครอบอยู่ ขณะที่เพศเมียนอกจากรอยหยักที่ขอบปีกหลังแล้วยังมีจุดขนาดใหญ่กระจายอยู่ในช่องระหว่างเส้นปีกช่องละหนึ่งจุด ผีเสื้อถุงทองธรรมดาเป็นผีเสื้อ
ที่บินสูงในระดับยอดไม้ แต่ในเวลากลางวันที่มีแดดจัดจะพบผีเสื้อลงตอม ดอกไม้ เช่น
ดอกเข็ม หรือ
พนมสวรรค์ที่ขึ้นในที่โล่งหรือป่าโปร่งริมทางเดินหรือบางครั้งลงดูดน้ำริมลำธารสามารถพบได้ตลอดปี
แต่จะมีความชุกชุมมากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน)
พืชอาหาร
: ตัวหนอนกินใบพืชในวงศ์กระเช้าสีดา (Aristolochiaceae) ได้แก่ กระเช้าถุงทอง Aristolochia pothieri) กระเช้าผีมด (A. tagala)
หูหมี (Thottea parviflora) หูหมีขน (T. tomentosa)
สถานภาพ : พบได้่เป็นครั้งคราวเป็นแมลงบัญชีที่
2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งคุ้มครองชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES Appendix II)
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง
สวนผลไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ที่มา :“ผีเสื้อถุงทองธรรมดา” https://th.wikipedia.org เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567