ข้อมูลพืช
ลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ The Red-Lipped Habenaria
ชื่อวิทยาศาสตร์ Habenaria
rhodocheila Hance
วงศ์ ORCHIDACEAE
วงศ์ย่อย Habenaria
ชื่ออื่นๆ ปัดแดง
สังหิน
ลิ้นมังกรเป็นกล้วยไม้ดิน ลำต้นเป็นหัว รูปขอบขนาน ใบรูปแถบจนถึงรูปแถบแกมหอก ขนาด 2 x 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมจนถึงเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดอกขนาด 0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงบนรูปรีและเป็นอุ้งคล้ายหมวก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปขอบขนาน เมื่อบานเต็มที่บิดม้วนไปทางด้านหลังกลีบดอกเชื่อมกับกลีบเลี้ยงบน ทั้งห้ากลีบมีสีเขียว ปลายกลบมน กลีบปากสีแดง สีชมพู สีเหลืองจนถึงสีส้ม กลีบเป็นสามแฉก แฉกข้างรูปทรงกลม
กล้วยไม้ดินขนาดเล็ก พบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง
หรือป่าดิบเขา บางครั้งพบอาศัยตามซอกหินหรือโขดหินที่มีมอสปกคลุมและมีแสงแดดรำไร
ในพื้นที่หลายระดับความสูง
ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลเดียวที่เรามักจะพบ
ลิ้นมังกร หรือ ปัดแดง บานสะพรั่งอยู่ตามบริเวณโขดหินใกล้ น้ำตก
ด้วยเสน่ห์ของสีสันอันหลากสี ทั้งสีเหลือง สีส้ม สีแดง สีชมพู
ไปจนกระทั่งสีโทนอ่อนเกือบจะเป็นสีขาว มันจึงเป็นกล้วยไม้ที่มีเสน่ห์แสนเย้ายวน
ในฤดูแล้ง ลิ้นมังกร
จะพักหัวของมันและคอยกักเก็บตุนสารอาหารไว้จนกระทั่งถึงฤดูกาลให้ดอกอีกครั้งในฤดูฝนต่อไป
ในระหว่างพักตัวนี้ท่านที่เลี้ยง ลิ้นมังกร อยู่
อย่าพลั้งเผลอเข้าใจผิดทิ้งกระถางไปเสียนะครับ ไม่เช่นนั้น ลิ้นมังกร
คงจากไปไม่รู้ลืมแน่ ๆ เชียว !
ในบรรดา ลิ้นมังกร หลากหลายสี
มีจำนวนหนึ่งที่มีรูปร่างของทรงต้นและลักษณะดอกที่แตกต่างออกไป เจ้า ลิ้นมังกร
ประหลาดนี้ จะมีลักษณะของสีสันที่ต่างออกไป รวมไปถึงลักษณะ
ดอกที่พิลึกกึกกือผ่าเหล่าไปจากพวกพ้อง ลิ้นมังกร ชนิดนี้มีชื่อในท้องถิ่นว่า
ว่านยานกเว้ เป็น ลิ้นมังกร ที่อยู่ทางภาคใต้ของเรานี่เองครับ ใบของ ว่านยานกเว้
จะต่างไปจาก ลิ้นมังกร ทั่ว ๆ ไปคือ มีลายจุด ในขณะที่ชนิดอื่นที่เราพบเห็นทั่ว
ไปจะมีใบสีเขียวล้วน นอกจากนี้ดอกของ ว่านยานกเว้ ยังมีขนาดใหญ่กว่า ลิ้นมังกร
ทั่วไปอีกด้วย
ดอกลิ้นมังกรเป็นกล้วยไม้ป่าที่หายาก
มีความจำเพาะต่อถิ่นที่อยู่อาศัยตามระบบนิเวศชื้นแฉะ
จะเจริญเติบโตด้วยการยึดเกาะบนโขดหินโดยเฉพาะบริเวณน้ำตก
และเส้นทางเดินตามริมธารน้ำตก ในช่วงฤดูฝนหัวที่พักตัวจะแตกต้นใบใหม่
และออกดอกสีชมพูสดสวยงาม
ส่วนใหญ่มักจะพบดอกลิ้นมังกรเป็นสีส้ม
แต่ที่น้ำตกหมันแดงชั้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
จะออกดอกเป็นสีชมพู นับว่าหาชมได้ยากมาก และจะอวดโฉมเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น โดยจะบานเต็มที่ต้อนรับวันแม่ในเดือนสิงหาคมของทุกปี
กลีบดอกมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ก็จะร่วงลงสู่พื้นน้ำ
ที่มาของเรื่องและภาพ
“ลิ้นมังกร” https://www.facebook.com/KenNeo2017. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
“ลิ้นมังกร” https://highland_plant.hrdi.or.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567