ข้อมูลพืช
ชายผ้าสีดา

ชื่อสามัญ Holttum’s Staghorn-fern
ชื่อวิทยาศาสตร์ Platycerium holttumii Joncheere &
Hennipman
วงศ์ POLYPODIACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ กระเช้าสีดา ข้าวห่อพญาอินทร์ (น่าน),
สไบสีดา (เลย), กระเช้าสีดา (ภาคอีสาน),
ชายผ้าสีดา หูช้าง (ชื่อทางการค้าในกรุงเทพฯ) เป็นต้น
ชายผ้าสีดา
จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้อื่น ลำต้นเป็นแท่งเหง้าแบบแท่งดินสอ
ฝังตัวอยู่ในระบบรากและใบกาบห่อหุ้ม โผล่ออกมาแต่ตายอด
บริเวณยอดเหง้าปกคลุมแน่นไปด้วยเกล็ดยาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายสอบแหลม
เกล็ดมีขนาดใหญ่ได้ถึง 15 x 1.5 มิลลิเมตร
ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่ฟัน ทั้งลำต้นเป็นสีเขียวปนสีน้ำเงิน
มีขนนวลขาวปกคลุมอยู่ทั่วไป ที่ยอดเหง้าคือส่วนที่สำคัญที่สุด
หากถูกทำลายอาจทำให้ต้นตายได้ การขยายพันธุ์จำเป็นต้องอาศัยงอกจากสปอร์ใหม่เสมอ
ปลูกเลี้ยงและดูแลง่าย เจริญเติบโตได้ตลอดปี หากได้รับความชื้นอย่างสม่ำเสมอและอุณหภูมิไม่ต่ำจนหนาวเย็น
ชอบแสงแดดรำไรถึงแสงแดดมาก มีความชื้นในอากาศสูง
ชายผ้าสีดำมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ลาว พม่า และเวียดนาม
ในบ้านเราพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะพบได้มากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
มักอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ขนาดใหญ่ระดับความสูงประมาณ 7-10 เมตร
จากพื้นดินในป่าดิบแล้ง
ใบมีลักษณะแข็งหนาเป็นมันคล้ายหนัง
ใบมีสองชนิด โดยใบกาบจะเจริญเป็นแผ่นหนา มีลักษณะชูตั้งขึ้น
มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
ปลายบนหยักลึกเป็นแฉกหลายชั้น ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก ปลายแฉกโค้งมนหรือแหลม
ใบกาบช่วงบนเจริญแผ่กางขึ้นเป็นตะกร้า ขอบด้านบนแฉกหยักลึกเป็นแฉกหลายครั้ง ปลายมน
ส่วนใบกาบช่วงล่างจะเจริญซ้อนทับใบกาบเก่าและโอบรัดสิ่งที่ยึดเกาะ
ขอบใบเรียบหรืออาจหยักเว้าในบางต้น แผ่นใบเรียบ มีขนสั้นเป็นรูปดาวปกคลุมแน่น
ส่วนเส้นใบเป็นร่างแห สีเขียวเข้มเจือสีน้ำเงิน มองเห็นได้ชัดเจน
และขอบใบกาบรอบตายอดจะมีลักษณะเป็นจีบพับย่น ปิดคลุมยอดตาเหง้า ในระหว่างชั้นใบกาบ
จะมีระบบรากเจริญแทรกเข้ามาอยู่ในระหว่างนั้น
ใบมีลักษณะแข็งหนาเป็นมันคล้ายหนัง
ใบมีสองชนิด โดยใบกาบจะเจริญเป็นแผ่นหนา มีลักษณะชูตั้งขึ้น
มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
ปลายบนหยักลึกเป็นแฉกหลายชั้น ปลายแยกเป็นแฉก 2 แฉก
ปลายแฉกโค้งมนหรือแหลม ใบกาบช่วงบนเจริญแผ่กางขึ้นเป็นตะกร้า
ขอบด้านบนแฉกหยักลึกเป็นแฉกหลายครั้ง ปลายมน
ส่วนใบกาบช่วงล่างจะเจริญซ้อนทับใบกาบเก่าและโอบรัดสิ่งที่ยึดเกาะ
ขอบใบเรียบหรืออาจหยักเว้าในบางต้น แผ่นใบเรียบ มีขนสั้นเป็นรูปดาวปกคลุมแน่น
ส่วนเส้นใบเป็นร่างแห สีเขียวเข้มเจือสีน้ำเงิน มองเห็นได้ชัดเจน
และขอบใบกาบรอบตายอดจะมีลักษณะเป็นจีบพับย่น ปิดคลุมยอดตาเหง้า ในระหว่างชั้นใบกาบ
จะมีระบบรากเจริญแทรกเข้ามาอยู่ในระหว่างนั้น
มีแถบสร้างสปอร์อยู่บริเวณเดียวตรงรอยเว้าที่โคน
โดยใบชายผ้าแต่ละใบจะมีแผ่นสปอร์เกิดขึ้น 2 ตำแหน่ง คือ ที่ใต้ส่วนแฉกชิ้นบนและส่วนแฉกชิ้นล่าง
เกิดบริเวณรอยเว้าของแต่ละชิ้น เมื่อสปอร์แก่ สปอร์จะทยอยปลิวออกไปเรื่อย ๆ
ปกติสปอร์ซึ่งเกิดที่ใต้ใบชายผ้าที่งอกออกช่วงฤดูนั้น
สปอร์จะแก่และพร้อมปลิวออกไปขยายพันธุ์ในต้นฤดูฝนของปีถัดไป
ที่มาของเรื่องและภาพ
“ชายผ้าสีดา” https://medthai.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567.