ข้อมูลพืช


ย่านลิเภา

ชื่อวิทยาศาสตร์           Lygodium flexuosum (L.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eupatorium rebaudianum

Bertoni, Stevia rebaudiana (Bertoni) Hemsl.)

วงศ์                        Lygodiaceae

ชื่อสามัญ                   Big Lygodium, Climbing Fern, Darai Paya, Ribu-Ribu Besar, Ribu-Ribu Gajah ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ                  เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพฯ), หมอยแม่ม่าย (นครราชสีมา), ตีนตะขาบ (พิจิตร), กระฉอด

หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี), กระฉอก ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์), ลิเภาใหญ่ (ปัตตานี),

หมอยยายชี (สุราษฎร์ธานี), กูดก้อง กูดเครือ กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักจีน ต๊กโต

(ภาคเหนือ), ตะเภาขึ้นหน หลีเภา (ภาคใต้), เต่วีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กิ๊โก่หล่า

(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กูดงอ บ่ะกูดงอ บะฮวาล (ลั้วะ), กะราวาหระ (ขมุ), กูดงอ

(ไทลื้อ), ด่อวาเบรียง (ปะหล่อง), กูดก๊อง ผักกูดก๊อง (คนเมือง), งอแง, ลิเภาย่อง,

ย่านลิเภา, หญ้ายายเภา, สายพานผี เป็นต้น

 

ย่านลิเภา หรือ ลิเภา เป็นเฟินเถาชนิดหนึ่งในสกุล Lygodium เช่น Lygodium flexuosum และ Lygodium circinatum เป็นต้น

จัดเป็นเฟิร์นทอดเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นยาวได้หลายเมตร ลำต้นเป็นเหง้าสั้นมีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ไม่มีเกล็ด ลำต้นเมื่อแก่จะมีสีดำและเป็นมัน


ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แกนกลางมีลักษณะเป็นเถาเลื้อย แกนกลางใบประกอบชั้นที่ชัดเจน โคนก้านใบเป็นสีน้ำตาล ส่วนด้านบนเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีขนสีน้ำตาล มีปีกแผ่ยื่นออกมาไม่ชัดเจนหรือไม่มี ใบย่อยออกเรียงบนแกนกลางของใบ โดยใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ ก้านใบย่อยจะยาวได้ประมาณ 2-4 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเว้าเป็นฟันปลา มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวใบมีขนใส หลังใบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนขึ้นประปรายตามเส้นใบ ส่วนใบย่อยที่สร้างสปอร์ที่อยู่กลางเถาขึ้นไปนั้น แอนนูลัสจะประกอบด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว เรียงตัวในแนวขวางและอยู่ตรงยอดของอับสปอร์ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เทียมจะมีลักษณะเป็นถุงเรียงซ้อนกันและมีขนใส กลุ่มสปอร์นั้นจะเกิดที่ขอบใบย่อย มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร  ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ลักษณะของใบย่อยนั้นจะมีอยู่หลายรูปร่าง เช่น ขอบขนาน ถึงรูปสามเหลี่ยมยาว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร


ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์และวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบแสงแดดรำไร พบขึ้นตามป่าทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าผลัดใบผสมทั่วทุกภาคของประเทศ พบได้มากทางภาคใต้ของไทย ย่านลิเภาเป็นวัสดุสำคัญสำหรับงานสาน เช่น กระเป๋าย่านลิเภา เข็มขัด หมวก


ที่มาของเรื่องและภาพ

 “ย่านลิเภา” https://medthai.com สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567.